เข้าสู่ระบบสำเร็จ
ออกจากระบบสำเร็จ
บทความ
สมรสเท่าเทียมผ่านแล้ว คู่รัก LGBTQ+ ได้สิทธิอะไรบ้าง?

สมรสเท่าเทียมผ่านแล้ว คู่รัก LGBTQ+ ได้สิทธิอะไรบ้าง?

โดย SabuyWedding
918 Views · 28 ส.ค. 2024
สมรสเท่าเทียมผ่านแล้ว คู่รัก LGBTQ+ ได้สิทธิอะไรบ้าง?

       "พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม" ถือเป็นหนึ่งก้าวที่สำคัญในการยอมรับความหลากหลายและสร้างความเท่าเทียมในสังคมไทย SabuyWedding ขอแสดงความยินดีกับคู่รักทุกคู่ด้วยนะคะ เมื่อกฎหมายฉบับนี้ผ่านแล้ว เรามาดูกันดีกว่าว่าคู่รัก LGBTQ+ จะได้รับสิทธิอะไรกันบ้าง?

 

1. สิทธิที่บุคคลทุกเพศสามารถหมั้น-เเต่งงานกันได้ โดยมีกฎหมายรองรับ

       เดิมทีในบ้านเรายังไม่รองรับการแต่งงานของคู่รัก LGBTQ+ ทำให้หลายคู่เลือกไปจดทะเบียนสมรสที่ต่างประเทศ แต่เมื่อ พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ผ่านแล้ว บุคคลทุกเพศจะได้รับสิทธิทางกฎหมายในการจดทะเบียนสมรส โดยมีข้อกำหนดว่าจะต้องมีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป โดยจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมด้วยค่ะ

 

2. สิทธิความเสมอภาคและเป็นกลางทางเพศ

       ข้อกฎหมายสมรสเท่าเทียมยังมีการปรับใช้ถ้อยคำที่ไม่จำกัดเฉพาะชาย-หญิงเท่านั้น เช่น 

       - เปลี่ยนคำว่าชายและหญิงเป็น บุคคล, ผู้หมั้น, ผู้รับหมั้น

       - เปลี่ยนคำว่าสามี-ภรรยา เป็น คู่สมรส

       - เปลี่ยนบิดา-มารดา เป็น บุพการี

นอกจากนี้ พิธีการหมั้นก็ได้ถูกปรับให้สอดคล้องกับ "สมรสเท่าเทียม" ด้วยค่ะ โดยไม่จำกัดว่าฝ่ายชายต้องเป็นผู้ให้ของหมั้นและสินสอด โดยของหมั้นจะตกเป็นสิทธิของผู้รับหมั้นแทน สำหรับสินสอดก็จะเป็นทรัพย์สินที่ฝ่ายผู้หมั้นมอบให้แก่พ่อแม่ ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองของฝ่ายผู้รับหมั้นค่ะ

 

3. สิทธิประโยชน์และสวัสดิการจากรัฐในฐานะคู่สมรส

       บุคคลทุกเพศจะได้รับความเท่าเทียมในการดูแลชีวิตและทรัพย์สินของกันและกัน ซึ่งคู่สมรสจะได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายหลังจดทะเบียนสมรส ดังนี้
       - สิทธิประโยชน์และสวัสดิการจากรัฐ เช่น สิทธิรับประโยชน์ทดแทนจากประกันสังคม, สิทธิเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น
       - สิทธิจัดการทรัพย์สินร่วมกัน
       - สิทธิเป็นผู้จัดการแทนในทางอาญา
       - สิทธิรับมรดกหากอีกฝ่ายเสียชีวิต
       - สิทธิในการตัดสินใจแทนทางการแพทย์
       - สิทธิในการจัดการศพ

 

4. สิทธิการเป็นพ่อแม่ของลูกตามกฎหมาย

       คู่รัก LGBTQ+ ที่อยากมีทายาท เดิมทีสามารถรับเป็นผู้ปกครองได้เพียงคนเดียวเท่านั้น แต่หากมี พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม จะสามารถรับอุปถัมภ์บุตรร่วมกันและให้บุตรบุญธรรมใช้นามสกุลคู่สมรสได้ รวมไปถึงการมีสิทธิในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดูแล การศึกษา และสุขภาพของบุตรอย่างเต็มที่ด้วยค่ะ

 

5. สิทธิเรียกค่าทดแทนและฟ้องหย่า

       นอกจากสิทธิโดยทั่วไป หากคู่รัก LGBTQ+ เกิดปัญหาความขัดแย้งหรือการหย่าร้างสิทธิจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมก็เกิดขึ้นด้วยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการเรียกค่าทดแทนจากอีกฝ่ายหากมีการผิดสัญญาหมั้น หน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดูกันของคู่สมรส การจัดการสินสมรสร่วมกัน การหย่าร้าง สิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดู สิทธิในการเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งเป็นชู้กับคู่สมรส ฯลฯ

 

       พูดง่าย ๆ ว่าสิทธิทั้งหมดนี้ ล้วนแล้วแต่เป็นสิทธิที่เท่าเทียมกันกับที่คู่สมรสตามกฎหมายเดิมนั่นเอง อย่างไรก็ตาม เราหวังว่าทุกคู่รักจะเข้าใจถึงสิทธิประโยชน์ของตัวเองและผู้อื่นมากขึ้น เพราะสมรสเท่าเทียมไม่ใช่แค่เรื่องของการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย แต่เป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงมุมมองและการยอมรับในความหลากหลายของความรักในทุกมิติด้วยค่ะ

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง

แชร์บทความนี้ไปที่

บทความที่เกี่ยวข้อง
อยากได้ไอเดียเพิ่ม? ลองดูบทความอื่นๆ สิคะ
รีวิวงานแต่งงาน
รีวิวงานแต่งบรรยากาศริมน้ำ กับพิธี Toast เรียบง่าย แต่แฝงด้วยดีเทล @The Siam Hotel
โดย The Siam
1,741 Views · 24 มิ.ย. 2024
Slide 1 of 43
รวมไอเดียแต่งงานและร้านค้าคุณภาพ
ติดตามเราได้ที่
สำหรับร้านค้า
สมัครเป็นพาร์ทเนอร์กับเรา
สำหรับผู้ใช้งาน
ติดตามเราได้ที่
ติดต่อทีมงาน Sabuy Wedding
© 2020 SabuyWedding All rights reserved.
คัดลอกลิงค์สำเร็จ